น้ำนมแม่ (breast milk) มีประโยชน์ต่อทารกแรกเกิด เพราะมีสารอาหารทั้งโปรตีน ไขมันและคาร์โบไฮเดรต อีกทั้งยังมีสารต้านจุลชีพ เช่น secretory antibodies, lysozyme และ lactoferrin นอกจากนี้ มีการค้นพบสารต้านจุลชีพตัวใหม่ในน้ำนม เรียกว่า HAMLET

HAMLET (Human Alpha-lactalbumin Made Lethal to Tumor cells) เป็น protein-lipid complex (ประกอบด้วยโปรตีน alpha-lactalbumin และไขมัน oleic หรือ linoleic acid) ที่แยกได้จาก casein ในน้ำนม มีการรายงานพบว่า สามารถยับยั้งแบคทีเรียที่ก่อโรคในระบบทางเดินหายใจ ได้หลายชนิด คือ Streptococcus pneumoniae, Haemophilus influenzae และบางสายพันธุ์ของ Moraxella catarrhalis การศึกษาของ Marks และคณะ แสดงให้เห็นคุณสมบัติของ HAMLET ที่น่าสนใจคือ
- เมื่อใช้ HAMLET ร่วมกับยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาการติดเชื้อ S.pneumoniae คือ penicillin, erythromycin, หรือ gentamicin พบว่า ปริมาณยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อลดลง ทั้งในกรณีของเชื้อสายพันธุ์ที่ไวและดื้อต่อยา ยิ่งในเชื้อดื้อยาปริมาณยาที่ยับยั้งเชื้อได้ลดลงถึงเกณฑ์ที่จัดว่าเป็นเชื้อไวต่อยาเลยทีเดียว ดังนั้น HAMLET จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่น่าสนใจ นำไปพัฒนาเพื่อใช้รักษาการติดเชื้อดื้อยา
- กรณีเชื้อ S.pneumoniaeใน biofilm พบว่า HAMLET เพิ่มความสามารถของยาปฏิชีวนะในการฆ่าเชื้อที่อยู่ใน biofilm ได้มากขึ้นเช่นเดียวกัน ทั้งในกรณี biofilm ของเชื้อสายพันธุ์ที่ไวและดื้อต่อยา
Biofilm คือ matrix ที่ภายในประกอบด้วยกลุ่มเซลล์แบคทีเรียที่เกาะติดกับพื้นผิวแล้วมีการเจริญเพิ่มจำนวนมากขึ้นจนเห็นเป็นโครงสร้างสามมิติปกคลุมไว้ - เหตุผลหนึ่งที่ HAMLET เสริมฤทธิ์ยาปฏิชีวนะได้ เพราะ ทำให้เชื้อมีการรับยาปฏิชีวนะเข้าสู่เซลล์ได้มากขึ้น ซึ่งพบเฉพาะกับยา gentamicin เพียงอย่างเดียว ดังนั้นกลไกนี้จึงไม่ใช่กลไกหลักในการเสริมฤทธิ์ยาปฏิชีวนะ
- กลไกหลักที่ HAMLET เสริมฤทธิ์กับยาปฏิชีวนะหลายๆชนิดก็คือ ไปรบกวนการขนส่ง ion เข้าสู่เซลล์ของแบคทีเรีย (calcium influx) และกระบวนการที่เรียกว่า kinase activation ซึ่งยังไม่มียาปฏิชีวนะตัวไหนเลยที่ใช้กลไกนี้ในการทำลายแบคทีเรีย จึงน่าจะเป็นเหตุผลที่ทำให้ HAMLET สามารถออกฤทธิ์หรือเสริมฤทธิ์กับยาในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียดื้อยาได้
Reference :
Laura R. Marks, Emily A. Clementi, Anders P. Hakansson. The Human Milk Protein-Lipid Complex HAMLET Sensitizes Bacterial Pathogens to Traditional Antimicrobial Agents. PLoS ONE, August 2012
Please comment with your real name using good manners.